ประเทศไทยรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปค

วันที่ 12 พ.ย. 2564 นายกรัฐมนตรีจะรับมอบเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565
สำหรับธีมในการประชุมครั้งนี้ ภาษาอังกฤษ คือ "APEC THAILAND 2022: OPEN. CONNECT. BALANCE." และในภาษาไทย คือ "เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล"
ความหมายของธีม โดยขยายความแต่ละแนวคิด ดังนี้
Open to all Opportunities เปิดกว้างผ่านการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน โดยส่งเสริมการขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-
แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia -pacific: FTAAP) ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-centric) ในรูปแบบใหม่ (next generation FTA)
ที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (practical) มีคุณภาพ ครอบคลุมประเด็นทางการค้าใหม่ (next generation trade issues) อาทิ สินค้าและบริการสิ่งแวดล้อมเปิดกว้าง สู่เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเปิดกว้างต่อการเข้าถึงได้จากทุกภาคส่วน (inclusion) โดยเฉพาะ MSMES Start ups และผู้ประกอบการรายเดี่ยว ให้สามารถเข้าถึงตลาด แหล่งเงินทุน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในทุกมิติ
Connect in all Dimensions ผ่านการฟื้นฟูความเชื่อมโยง โดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว ซึ่งมุ่งเน้นความเชื่อมโยง
ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเวลา (time) สถานที่ (space) คน (people) และแนวคิด (concept) เพื่อทำให้ภูมิภาคเอเปคเปิดกว้างและเร่งการฟื้นฟูและการเจริญเติบโตและขยายวงกว้างไปสู่ประชาคมโลกโดยรวมอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดความสมดุลของการพึ่งพาระหว่างคนกับคน คนกับสิ่งแวดล้อม และสรรพสิ่ง (all of things ในทุกมิติที่มุ่งไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ในยุคหลังโควิด-19 อย่างมีคุณภาพ

Balance in all Aspects ส่งเสริมการเจริญเติบโตที่สมดุล ยั่งยืนและครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงได้ โดยเฉพาะเชื่อมโยง DNA ใหม่ของไทยคือ แนวคิดBCG Economy แบบองค์รวม เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) เน้นเรื่องสิ่งมีชีวิต (คน พืช สัตว์) เศรษฐกิจสีเขียว (Green) เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ส่วนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) จะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์(paradigm shift) ในที่สุด แนวคิด BCG สามารถดำเนินการได้ทั้งแบบแยกส่วนหรือองค์รวม (2 pronged approach) มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตที่สมดุลและยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความสมดุลจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (inclusion) โดยมี 3 drivers หลัก ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และเยาวชน เพื่อโลกที่สมบูรณ์และสมดุลยิ่งขึ้นในยุคหลังโควิด-19
สำหรับตราสัญลักษณ์เอแปคในครั้งนี้ คือ “ชะลอม” ออกแบบโดย นายชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง ที่ต้องการถ่ายทอดให้เห็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งในด้านของการค้าและเศรษฐกิจ” โดยเกิดขึ้นภายใต้โครงการประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5 ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้น และเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนไทยอายุไม่เกิน 25 ปี ที่เข้าร่วมส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 598 ผลงานจนคัดเลือกเหลือเพียง 1 ผลงานเท่านั้น
ประเด็นสำคัญ (Priorities) 3 ด้านที่ไทยจะผลักดัน
1.ด้านการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม
เพื่อผลักดันการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและสมดุลในทุกมิติคือ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
2. ด้านการอำนวยความสะดวกต้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเอเปค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุความมั่งคั่ง ในระยะยาว
3. ด้านการฟื้นฟูความเชื่อมโยงโดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว เพื่อเร่งการฟื้นฟูและการเจริญเติบโตในภูมิภาคในยุคหลัง โควิด-19
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมการจัดประชุมเอเปคอย่างรอบคอบและรัดกุมตามมาตรการสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด โดยให้นำแนวทาง เช่น เรื่องของการตรวจ ATK และการตรวจ RT-PCR ทั้งก่อนและหลังการประชุม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่เข้าร่วมประชุม
ช่องทางการรับชมพิธีส่งมอบการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปค โดยบันทึกเทปพิธีดังกล่าววันที่ 12 พ.ย. 2564 และ เผยแพร่วันที่ 13 พ.ย. 2564 ได้ทั้งทาง NBT NBT World และสวท.


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar