การประชุม ครม. อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เห็นชอบ 7 โครงการเร่งด่วน กรอบวงเงิน 494 ล้านบาท

การอนุมัติโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน 7 โครงการนั้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ทั้ง 6 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล โครงการเร่งด่วนประกอบด้วย
1. โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล
2. โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ อนุรักษ์ฟื้นฟูพะยูนและสัตว์ทะเล หายาก จ.ตรัง
3. โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม จ.ระนอง
4. โครงการ Phuket Health Sandbox จ.ภูเก็ต
5. โครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา จ.พังงา (The Park Khaolak)
6. โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสาร-ท่องเที่ยวปากคลองจิหลาด จ.กระบี่
7. โครงการพัฒนาแหล่งสปาวารีบำบัดน้ำพุร้อนคลองท่อมเมืองสปา จ.กระบี่

พร้อมทั้งยังเห็นชอบในหลักการข้อเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 5 ด้าน
1. ด้านการเยียวยา ฟื้นฟู และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่
• ANDAMAN ECONOMIC TOURISM (เขตเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวอันดามัน)
• ANDAMAN GO GREEN สร้างต้นแบบในการใช้แนวคิด การพัฒนา เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว 3) การเสนอเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 (พ.ศ. 2568)
2. ด้านการท่องเที่ยว
• การยกระดับและพัฒนาศักยภาพศูนย์สั่งการและระบบการแพทย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
• การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการบริการสินค้า เพื่อสุขภาพ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
• การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (ปรับปรุงจวนข้าหลวงเก่า) ระยะที่ 1
• Khaolak Surf Town พัฒนาพื้นที่เขาหลักจังหวัดพังงาให้เป็นเมืองแห่งเซิร์
• การพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พื้นที่อุทยานพระนารายณ์เชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรมอันดามัน
• การพัฒนาสนามกีฬาเทศบาลนครตรังสู่มาตรฐานสากล
• การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองพังงา
• การพัฒนาอุตสาหกรรมมารีน่า
3. ด้านการเกษตร
• การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้งระบบแบบยั่งยืน
• การพัฒนาการประมงในอ่าวพังงาอย่างยั่งยืน (2566-2570) (Andaman Sustainable Fisheries Development Project, 2023 – 2027)
• การส่งเสริมการเลี้ยงแพะและแปรรูปผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรตามมาตรฐานอาหารฮาลาล
4. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
• การเพิ่มศักยภาพบริการทางการแพทย์และการแพทย์ฉุกเฉิน จ.พังงา
• การพัฒนาขยายพื้นที่ให้การรักษาพยาบาลโรงพยาบาลระนอง
5. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
• โครงการยกระดับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการภูมิภาคอันดามัน
• การศึกษาระบบเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางบก ทางน้ำ ระบบราง และอากาศ (Multimodal Transportation)
• การศึกษาโครงข่ายคมนาคมแก้ไขปัญหาจราจรในเขตเมืองและสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่ง อันดามัน
• การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพประเภทเกาะในกลุ่มจังหวัดอันดามัน
• การก่อสร้างระบบเคเบิ้ลใต้ดิน พื้นที่เขตอนุรักษ์ย่านการค้า เมืองเก่า จ.ภูเก็ต
• การปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารจ.ระนอง
• การก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเล
• การยกระดับสนามบินนานาชาติกระบี่เป็น Cargo Hub
• การก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปา RO. เกาะพีพี อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่
นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการงาน เมกะอีเวนต์ รวม 3 รายการ
1. การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก (ระดับบี) ที่ จ.อุดรธานี
ในปี 2569
2. การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก (ระดับเอ) ที่ จ.นครราชสีมา ในปี 2572
3. การจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษ จ.ภูเก็ต ในปี 2571
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หากประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพเมกะอีเวนต์ทั้ง 3 งาน กระทรวงการท่องเที่ยว ประเมินว่าจะสามารถสร้างเงินสะพัดในประเทศไทยรวม 100,173 ล้านบาท ผลักดันการเติบโตให้จีดีพีได้ 68,520 ล้านบาท สร้างรายรับภาษีให้ภาครัฐ 20,641 ล้านบาท และ สร้างการจ้างงาน 230,442 คน
สำหรับการเป็นเจ้าภาพการจัดงานเมกะอีเวนต์ดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญ ในการพัฒนาและต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับ นักเดินทางจากทั่วโลก สร้างการจ้างงานผลักดันการเติบโตของจีดีพี พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านนวัตกรรมการเกษตร การแพทย์ ภาคบริการและภาคท่องเที่ยว ตลอดจนการพัฒนาหลังการจัดงานให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในระยะยาว


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar