กรมชลประทานรับฟังความคิดเห็นประชาชนโครงการปรับปรุงชลประทานในลุ่มแม่น้ำน้อย ที่จังหวัดชัยนาท

วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนเจ้าพระยา ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท กรมชลประทานจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ปัจฉิมนิเทศโครงการ) โครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการชลประทานในลุ่มแม่น้ำน้อย จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทองและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบรมธาตุ) โดยมีนายศรณ์จักร์ชัย ชูวาพิทักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ปัจฉิมนิเทศโครงการ)

นายปรัชญา ฉายวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านวางแผน) กล่าวว่า แม่น้ำน้อย เป็นลำน้ำสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านอำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจันและอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านไปจังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความยาวทั้งสิ้น 145 กิโลเมตร มีพื้นที่ชลประทานประมาณ 1 ล้านไร่ โครงการชลประทานที่เกี่ยวข้องในลุ่มแม่น้ำน้อยมี 4 โครงการ คือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบรมธาตุ, ชัณสูตร, ยางมณีและผักไห่ ซึ่งโครงการชลประทานในระบบของแม่น้ำน้อยก่อสร้างมาพร้อมๆกับเขื่อนเจ้าพระยา มีอายุการใช้งานกว่า 60 ปี ทำให้ประสิทธิภาพการส่งน้ำลดลง อาคารบางแห่งชำรุดเสียหาย ความสามารถในการระบายน้ำของคลองระบายน้ำไม่เพียงพอ กรมชลประทาน จึงได้มีการศึกษาเพื่อปรับปรุงระบบชลประทานและการระบายน้ำ โดยลงสำรวจพื้นที่โครงการตั้งแต่วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2564 และในปี 2565 ประชุมกลุ่มย่อย อีก 3 ครั้ง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน้อยมีส่วนร่วมและได้ดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาในพื้นที่รวมจำนวน 4 ครั้ง การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ปัจฉิมนิเทศโครงการ) เป็นขั้นสุดท้าย เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ต่อไป


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar